ส่องกล้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง
- 0
- 2024-08-30
ส่องกล้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง: ความก้าวหน้าใหม่ในการรักษาโรคกระดูกสันหลังเสื่อม
การผ่าตัดทรวงอกผ่านการส่องกล้องถูกนำมาใช้ครั้งแรกในการผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอผ่านกล้อง ในปี 2536 หลังจากการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2545 ศาสตราจารย์ Hoogland จากประเทศเยอรมนีได้นำเสนอเทคโนโลยี THESSYS บนพื้นฐานเทคนิค YESS ทำให้เทคนิคผ่าตัดผ่านการส่องกล้องก้าวหน้ามากขึ้น ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคกระดูกคอ ด้วยข้อดีของการรักษาที่บาดแผลเล็ก เลือดออกน้อย การฟื้นตัวที่รวดเร็ว และผลการรักษาที่เห็นชัด จึงค่อยๆ กลายเป็นตัวเลือกการรักษาของผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนคอและกระดูกสันหลังส่วนเอวมากขึ้น
เทรนด์ใหม่ในการรักษาโรคกระดูกสันหลัง
นิยาม
เทคนิคการส่องกล้องผ่าตัดกระดูกสันหลังใช้เทคนิคกล้อง Endoscope โดยการเจาะผ่านผิวหนังมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 6-8 มม. แล้วส่องกล้องเข้าไปในช่องระหว่างกระดูกสันหลัง มองเห็นโครงสร้างในช่องกระดูกสันหลังได้ชัดเจนผ่านเครื่องรังสีวินิจฉัย ได้แก่ หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น เส้นประสาท เยื่อหุ้มไขสันหลัง เอ็นสีเหลืองและเนื้อเยื่อกระดูกที่ถูกกดทับ แพทย์จะทำการผ่าตัดดึงเนื้อเยื่อกระดูกสันหลังผ่านการมอนิเตอร์ กระบวนการผ่าตัดสร้างบาดแผลเพียง 8 มม. ซึ่งช่วยลดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อปกติโดยรอบได้ ไม่กี่ชั่วโมงหลังการผ่าตัดสามารถเคลื่อนไหวขยับร่างกายได้เลย
การแบ่งประเภท
เทคนิค YESS | เทคนิค TESSYS |
บริเวณภายในเชิงกราน | ช่องระหว่างกระดูกสันหลัง |
เหมาะกับการรักษาบางอาการ
| สามารถรักษาเนื้อเยื่อหมอนกระดูกสันหลังปลิ้นและหลุดออกมา แก้ไขช่องกระดูกสันหลังส่วนกลางและฐานรองกระดูกสันหลังด้านข้างตีบได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
กระดูกสะโพกสูงและช่องระหว่างกระดูกสันหลังแคบ | ขยายช่องระหว่างกระดูกสันหลังในเคสที่ข้อต่อกระดูกชนกันจนปลิ้น |
เทคนิคง่าย เหมาะกับแพทย์ฝึกหัด | มีความซับซ้อน |
เปรียบเทียบเทคนิคการส่องกล้องผ่าตัดกับการผ่าตัดแบบทั่วไป
เทคนิคการส่องกล้องผ่าตัด | การผ่าตัดแบบทั่วไป | |
ระดับความเสียหายต่อร่างกาย | แผลขนาดเล็ก ระยะเวลาในการรักษาสั้น ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว และความเสียหายต่อร่างกายต่ำ | แผลมีขนาดใหญ่ ใช้เวลาผ่าตัดนาน ระยะเวลาพักฟื้นนาน สร้างความเสียหายต่อร่างกายอย่างมาก |
ความปลอดภัย | มีความปลอดภัยสูง: ยาชาเฉพาะที่ไม่ทำลายเส้นประสาทและหลอดเลือด | ความปลอดภัยต่ำ: การดมยาสลบอาจทำให้เส้นประสาทและหลอดเลือดเสียหายได้ |
จุดเด่นของการรักษา | บาดแผลเล็ก เลือดออกน้อยกว่า 20 มล. ล็อคตำแหน่งได้แม่นยำ ไม่ทำลายเซลล์เนื้อเยื่อปกติโดยรอบ ลดผลข้างเคียงและอัตราการติดเชื้อหลังผ่าตัดได้สูง | การผ่าตัดแบบเปิด บาดแผลขนาดใหญ่ มีเลือดออกมาก อาจทำลายเซลล์เนื้อเยื่อปกติโดยรอบ หลังการผ่าตัดโอกาสติดเชื้อสูง |
เทคโนโลยีการส่องกล้องผ่าตัด มีข้อดีคือสร้างบาดแผลเล็ก ผลการรักษาเห็นชัด ผู้ป่วยฟื้นตัวได้รวดเร็ว แผลผ่าตัดมีขนาดเพียง 8 มม. เย็บแผลเพียงเข็มเดียว ปัจจุบันเป็นแผนการรักษาโรคกระดูกสันหลังส่วนคอและกระดูกสันหลังส่วนเอวที่อันตรายน้อย แต่มีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเทียบกับการผ่าตัดกระดูกรูปแบบอื่น
ผู้ป่วยที่เหมาะกับการส่องกล้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง
(1) สามารถรักษาผู้ป่วยหมอนรองกระดูกยื่นได้เกือบทุกประเภท โดยเฉพาะผู้ที่หมอนรองกระดูกใหญ่ หมอนรองกระดูกยื่น ผู้ที่ช่องกระดูกสันหลังตีบแคบและมวลกระดูกหนา เอ็นสีเหลืองหนา ช่องกระดูกสันหลังตีบแคบ เป็นต้น
(2) อาการปวดเอวที่สืบเนื่องจากกระดูกเชิงกราน
(3) ผู้ป่วยที่มีการกลับเป็นซ้ำหลังการผ่าตัด มีรอยแผลเป็นจากการผ่าตัดและมีโครงสร้างทางกายวิภาคไม่ชัดเจนจนส่งผลให้ต้องผ่าตัดซ้ำ
(4) กลุ่มอาการ Cauda Equina Syndrome
(5) ผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่สามารถทนต่อการผ่าตัดและการดมยาสลบได้
แม้ว่าเทคโนโลยีส่องกล้อง จะสามารถรักษาได้หลายอาการ แต่ไม่ได้เหมาะกับผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนคอและกระดูกสันหลังส่วนเอวทุกราย
(1) กระดูกสันหลังส่วนเอวไม่มั่นคงประเภทหมอนรองกระดูกสันหลัง
(2) หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นหลายส่วน
(3) การติดเชื้อบริเวณรอยเจาะ/ ช่องกระดูกสันหลัง (ยกเว้นการติดเชื้อหลังผ่าตัดหรือวัณโรคกระดูกสันหลัง)
(4) เคสที่กระดูกสันหลังผิดรูป
(5) ผู้ป่วยที่มีกระดูกหักและมีเนื้องอก
(6) ผู้ป่วยที่การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
(6) คนไข้ที่มีความผิดปกติทางจิต
(7) ผู้ป่วยที่อวัยวะภายในเสื่อมสมรรถภาพอย่างรุนแรงหรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่ไม่สามารถทนต่อการผ่าตัดได้
การส่องกล้องผ่าตัดกระดูกสันหลังเป็นวิธีการที่สำคัญที่สุดของการศัลยกรรมกระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก ในวงการแพทย์และผู้ป่วย จึงได้รับความสำคัญกับเทคนิคการส่องกล้อง ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของเทคนิคนี้จะนำประโยชน์มาสู่ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังจำนวนมาก และยกระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขา ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง การส่องกล้องผ่าตัดกระดูกสันหลังจะมีบทบาทสำคัญในสาขาต่างๆ ที่กว้างขึ้น
สิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยคือการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะกับตน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะต้องประเมินอาการของผู้ป่วย และวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของแผนการรักษาแต่ละแบบ เพื่อให้ได้รับผลการรักษาที่ดีที่สุด ด้วยนวัตกรรมใหม่ๆของเทคโนโลยีทางการแพทย์ เทคนิคการส่องกล้องผ่าตัดกระดูกสันหลังจะนำความหวังมาสู่ผู้ป่วยมากขึ้น และขยายโอกาสในการรักษาโรคกระดูกสันหลังในวงกว้างมากขึ้น