1. การตรวจแบบสูตินรีเวชทั่วไป : หากทำการตรวจแล้วพบว่ามีก้อนเล็กที่ผนังช่องคลอด มีก้อนเนื้อ แผลเน่าเปื่อย หรือความยืดหยุ่นหายไป ควรตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อความแน่ชัด แต่ถ้าความผิดปกติไม่เด่นชัด
การตรวจด้วยแปปสเมียร์หรือการส่องกล้องช่องคลอดมีส่วนช่วยในการพบจุดกำเนิดโรค หากพบว่าช่องคลอดมีอาการเลือดออกผิดปกติ สามารถดำเนินการตรวจด้วยวิธีนี้ได้
2. การตรวจด้วยวิธีแปปสเมียร์ : นำเซลล์ในปริมาณเล็กน้อยจากปากมดลูกมาเป็นตัวอย่าง และนำไปวางบนแผ่นแก้ว แล้วส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ นี่เป็นวิธีพื้นฐานในการตรวจทั่วไป
ในผู้หญิงหากเราตรวจด้วยวิธีการนี้ตามเวลาที่กำหนดก็จะสามารถป้องกันมะเร็งช่องคลอดได้ เพื่อที่จะรักษาได้ทันเวลาและหลีกเลี่ยงภัยร้ายที่รุนแรงกว่านี้ หากพบว่าช่องคลอดขับของเหลวออกมาผิดปกติ
สามารถทำการตรวจด้วยวิธีนี้ได้
3. การส่องกล้องช่องคลอด : สามารถตรวจปากมดลูก ส่วนของช่องคลอดได้ทุกส่วน ในบริเวณที่ผิดปกติควรทำการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา จุดกำเนิดของมะเร็งช่องคลอดนั้นมักจะอยู่แค่ชั้น
เซลล์ผิวช่องคลอด เมื่อตรวจด้วยวิธีแปปสเมียร์หรือการส่องกล้องถึงจะพบความผิดปกติได้
4. การตรวจทางภาพถ่าย : การตรวจด้วยวิธีอัลตราซาวด์ ซีทีหรือ เอ็มอาร์ไอนั้น มีส่วนช่วยให้รับทราบถึงตำแหน่ง ระยะของก้อนเนื้อ อีกทั้งกำหนดแนวทางการรักษาและประเมินผลการรักษาได้
การตรวจทั้งสามวิธีนี้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ การตรวจด้วยวิธีนี้มักจะใช้ในการตรวจมะเร็งระยะสุดท้าย เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด หรือการขับถ่ายลำบาก เป็นต้น
5. การตรวจโดยการตัดชิ้นเนื้อหรือการตรวจเซลล์ช่องคลอด : เมื่อที่ผนังช่องคลอดมีเซลล์ที่ผิดปกติ ก็ควรจะทำการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อความแน่ชัด สำหรับผู้ป่วยที่จุดกำเนิดโรคไม่ชัดเจน ควรตรวจเซลล์ในช่องคลอด
6. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ : การตรวจ CEA、CAl25 มีส่วนช่วยในการสังเกตและประเมินผลการรักษา
ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวแนะนำว่า ถึงแม้ว่าอัตราการเป็นมะเร็งช่องคลอดจะต่ำ แต่ในกลุ่มผู้สูงอายุจะมีอัตราการเป็นที่สูงกว่า หากพบว่าช่องคลอดมีอาการผิดปกติ
ควรรีบไปโรงพยาบาลดำเนินการตรวจ และหากการวินิจฉัยพบว่าเป็นมะเร็งช่องคลอด ควรจะรีบทำการรักษาเพื่อไม่ให้เสียช่วงเวลาการรักษาที่ดีไป
>>หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมะเร็ง กรุณาคลิกเพื่อปรึกษาแพทย์